Pressure gauge คืออะไร ? เกจ์วัดแรงดัน หรือ เกจวัดแรงดัน

pressure-gauge_เพรสเชอร์เกจ_คืออะไร_octa_wika_nuovafima_cover
pressure-gauge_เพรสเชอร์เกจ_คืออะไร_octa_wika_nuovafima_cover

Table of Contents

Pressure Gauge คือ อุปกรณ์ใช้วัดแรงดันของของไหลในระบบ เพื่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ เพื่อควบคุมมาตรฐานให้เป็นไปตามจุดประสงค์ โดนเกจวัดแรงดันสามารถวัดแรงดันของสาร(Application)ในระบบได้ทุกชนิด แต่ต้องเลือกเกจวัดแรงดันให้เหมาะกับสารนั้น ๆ

เกจวัดแรงดัน เกจ์วัดความดัน เกจวัดความดัน เรียกแบบไหน ?

เกจวัดแรงดัน หรือ เพรสเชอร์เกจ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการวัดแรงดันของของไหล (Fluids) ได้แก่ แก๊ส และของเหลวทุกชนิด ลักษณะภายนอกของเพรสเชอร์เกจมีลักษณะเป็นหน้าปัดมีมาตรวัด และมีเข็มชี้เป็นตัวบอกปริมาณความดันที่สามารถวัดได้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทการวัด คือ Normal Range, Vacum Gauge, Compound Pressure Gauge โดยส่วนใหญ่จะเป็นเป็นอนาลอค (Analog) หรือแบบเข็ม ซึ่งมีหลักการทำงานภายในของเพรสเชอร์เกจแบบเข็มจะเรียกว่า Bourdon tube หรือเป็นรู้จักกันในชื่อ เกจวัดแรงดันแบบบูร์ดอง เป็นเกจวัดความดันชนิดอาศัยการเปลี่ยนแปลงทางกลด้วยหลักการยืดตัว/โก่งตัวของวัสดุที่มีสมบัติยืดหยุ่นหรือเรียกว่า “เครื่องมือวัดความดันแบบอิลาสติก” ทำงานโดยอาศัยการแปลงความดัน (pressure)ที่อุปกรณ์ได้รับให้อยู่ในรูปของการเคลื่อนที่ บูร์ดองเป็นหลอดที่มีพื้นที่หน้าตัดเป็นวงรีและงอเป็นส่วนโค้งของวงกลมโดยปลายด้านหนึ่งของหลอดเป็นปลายปิดต่อเข้ากับเข็มตรวจวัดตำแหน่งและระยะการเคลื่อนที่ปลายอีกด้านหนึ่งเป็นปลายเปิดต่อเข้ากับสิ่งที่ต้องการวัดความดัน เมื่อหลอดได้รับความดันหรือความดันภายในหลอดมากกว่าความดันภายนอกหลอดจะเกิดความเครียด (strain) ขึ้นและพยายามยืดตัวออกให้ตรงทำให้ปลายข้างที่ปิดเคลื่อนที่โดยการเคลื่อนที่นี้เปลี่ยนแปลงตามความดันที่ได้รับ และเมื่อความดันลดลงหลอดจะเคลื่อนที่กลับเข้าสู่ตำแหน่งเดิมลักษณะการทำงานของบูร์ดองมีหลักการเดียวกับของเด็กเล่นที่มีลักษณะเป็นขดกระดาษม้วนโดยเมื่อเป่าลมเข้า ขดกระดาษม้วนจะคลายตัวออก และเมื่อปล่อยลมออกขดกระดาษจะม้วนตัวกลับเข้าสู่สภาพเดิม

เกจวัดแรงดันแบบบูร์ดอง

เกจวัดแรงดันแบบ บูร์ดองจะมีทั้งแบบเติมน้ำมัน (Oil Pressure Gauge) และแบบไม่เติมน้ำมัน/แบบแห้ง (Dry Pressure Gauge) ซึ่งแบบที่คนนิยมใช้กันจะเป็นแบบ เติมน้ำมัน หรือ เรียกอีกอย่างได้ว่า liquid filled pressure gauge เพราะ แบบเติมน้ำมันนั้นถึงแม้ว่าจะมีราคาที่สูงกว่าแบบแห้ง แต่จะช่วยรักษาสภาพของเพรสเชอร์เกจให้ใช้งานได้ยาวนานขึ้น เนื่องจากตัวน้ำมันกลีเซอรีน/ซิลิโคนออยล์ จะช่วยลดการกระตุก การสั่น หรือการกระชากของเข็ม ที่เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมภายนอก เพรสเชอร์เกจแบบเติมน้ำมันจะเหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่มีแรงสั่นสะเทือนอยู่ตลอดเวลา

ประเภทของการวัด

  1. General range (เกจวัดแรงดัน ย่านปกติ)ใช้วัดแรงดันที่เป็นย่านค่าบวก เช่น Range : 0 to 10 bar , 0 to 16 bar , 0 to 25 bar
  2. Vacuum gauge (เกจวัดแรงดัน ย่านติดลบ) ใช้วัดแรงดันที่เป็นย่านค่าลบ เช่น Range : -1 to 0 bar
  3. Compound gauge (เกจวัดแรงดัน ย่านติดลบ-บวก) สามารถวัดแรงดันได้ทั้งค่าบวกและลบได้ในตัวเดียวกัน เช่น Range : -1 to 3 bar , -1 to 5 , -1 to 9 bar

นอกจากเกจวัดแรงดันแบบบูร์ดองแล้ว ก็ยังมีเกจวัดแรงดันรูปแบบอื่น ๆ ให้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับการใช้งานจริง อย่าง เกจวัดแรงดันแบบดิจิตอล ก็จะเหมาะกับการใช้งานที่ต้องการความแม่นยำในการวัดแรงดันเพราะดิจิตอลเพรสเชอร์เกจจะบอกค่าแรงดันที่วัดได้เป็นตัวเลขพร้มอจุดทศนิยม จึงทำให้ได้ค่าที่มีความแม่นยำมากกว่าการใช้เกจวัดแรงดันแบบเข็ม และเกจวัดแรงดันที่เป็นรูปแบบของการส่งสัญญาณออก (มีสวิตช์เปิด-ปิด) เรียกอีกอย่างได้ว่า เกจวัดแรงดันแบบมีคอนแทค มีไว้สำหรับกรส่งสัญญาณแจ้งเตือน เป็นไฟ /เสียง สามารถตั้งค่าเตือนเมื่อแรงดันตก (Low alarm) และเตือนเมื่อแรงดันสูง (High Alarn) ทั้งนี้ผู้ใช้สามารถตั้งค่าเองได้เลย


รูปภาพตัวย่างเกจวัดแรงดันแบบบูร์ดอง ในแต่ละย่านการวัด (เกจวัดแรงดันต่ำ low gauge และ เกจวัดแรงดันสูง High gauge)

รูปภาพตัวอย่างเกจวัดแรงดันแบบเข็ม/บูร์ดอง ติดกับ ไดอะแฟรมซีล (Diaphragm Seal)